หน่วยการเรียนรุ้ที่ 4 การเพราะปลูกพืช
- การเตรียมดินก่อนการปลูกพืช
การเตรียมดินเป็นหัวใจของการปลูกพืชทั้งพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งมีหลักการคล้ายคลึงกัน คือ ก่อนปลูกพืชจำเป็นต้องพิจารณาสภาพพื้นที่ เนื้อดิน ปัญหาของดิน ชนิดพืชที่ปลูกเพื่อให้มีการเตรียมดินที่เหมาะสมและประสบผลสำเร็จในการปลูกพืช การเตรียมดินสำหรับการปลูกพืชจะแตกต่างกันตามชนิดของพืชดังนี้
การเตรียมดินสำหรับการปลูกผัก
การเตรียมดินปลูกผักจำเป็นต้องมีการเตรียมดินอย่างดีเพื่อให้เมล็ดผักซึ่งมีขนาดเล็กมีการงอกที่ดี ควรไถดินลึก 6-8 นิ้ว พริกหน้าดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อฆ่าไข่แมลงและศัตรูพืชบางชนิด แล้วจึงไถคราดเพื่อกำจัดวัชพืชออกให้หมดทำการยกแปลงขนาดของแปลงขึ้นกับชนิดพืชผักที่ปลูก ถ้าดินมีปัญหาโดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6.5 ควรใส่ปูนขาวอัตรา 100-300 กก./ไร่ การหว่านปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในดิน ในพื้นที่ภาคใต้ก็ใช้หินปูนฝุ่นอัตรา 1000-1500 กก./ไร่ วัสดุปูนขึ้นอยู่กับพื้นที่ว่ามีปูนชนิดใดก็ใช้ตามที่มีในพื้นที่นั้น ในขณะใส่ปูนดินควรมีความชื้นเพื่อให้ปูนมีการทำปฏิกิริยากับดินได้เร็วยิ่งขึ้นและควรปล่อยไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ในขณะพรวนดินหลังจากยกแปลงแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ เช่น ขี้เป็ด ขี้ไก่ หรือ ขี้หมู จะทำให้ดินร่วนซุย เตรียมดินง่ายและทำให้ดินมีความอุ้มน้ำดี มีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้น นอกจากนี้ยังให้ธาตุอาหารแก่ดินในระดับหนึ่ง
พืชผักบางชนิดที่ต้องเพาะเมล็ดปลูกแปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร การเตรียมดินควรทำอย่างดีเช่นเดียวกันโดยยกหน้าดินให้สูงประมาณ 10 ซม. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเพื่อให้ดินร่วนซุย แต่งหน้าดินให้เรียบ สำหรับพืชผักที่ปลูกโดยหว่านเมล็ดลงแปลง เมื่อหว่านเมล็ดแล้วให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วโรยทับลงไปบางๆคลุมดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ ส่วนพืชผักที่ปลูกเป็นหลุมก็เช่นเดียวกันเมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินละเอียดที่ผสมด้วยปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก
การเตรียมดินสำหรับปลูกไม้ผล
ไม้ผลเป็นพืชที่มีระบบรากลึก การเตรียมดินก่อนปลูกจึงต้องเตรียมให้ดีเพราะหลังจากปลูกไปแล้วไม่สามารถพรวนดินใส่ปุ๋ยในดินระดับล่างได้อีก การเตรียมดินอย่างดีจะช่วยให้ไม้ผลเจริญเติบโตเร็วกว่าการปลูกแบบไม่เตรียมหลุม การเตรียมหลุมไม่ดีถึงแม้ว่าจะใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตภายหลังปลูก พบว่าไม้ผลก็ยังมีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นที่มีการเตรียมหลุมปลูกอย่างดี การเตรียมหลุมปลูกไม้ผล ขนาดของหลุมปลูกจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ถ้าเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ เช่น ทุเรียน หลุมปลูกควรมีขนาดกว้าง x ยาว 1 x 1 เมตร ลึกประมาณ 80 ซม. ไม้ผลขนาดกลาง เช่น ลองกองควรมีขนาด 80 x 80 ซม. ลึก 60 ซม. การกำหนดขนาดของหลุมปลูกเพื่อให้รากของต้นกล้าเจริญเติบโตได้ดีในระยะแรก และควรใช้ปุ๋ยรองก้นหลุมพวกร็อคฟอสเฟต 1-2 กระป๋องนมจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของราก สำหรับสภาพพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช เช่น สภาพดินเป็นหินจัดและมีระดับน้ำใต้ดินสูงก็ควรปลูกแบบนั่งแท่นหรือปลูกแบบยกโคกจะเหมาะสมที่สุด การปลูกแบบนั่งแท่นจะขุดหลุมปลูกแต่ไม่ลึกมากและปรับหน้าดินให้ร่วนซุย นำต้นกล้าวางบนหลุมจัดรากให้ออกมาในแนวรัศมีรอบต้น กลบด้วยดินพูนให้เป็นโคก ค้ำยัน3 ขา หรือใช้ไม้เสียบค้ำยันไว้จนต้นกล้าตั้งตัวได้ การเตรียมดินปลูกโดยทั่วไป ดังรูป
ดินบน+ปุ๋ยหินฟอสเฟท 1 กระป๋องนม+ปูนขาว1-2 กำมือ+ปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมักจากพด.1 หรือเศษใบไม้แห้ง1-2 ปีบ สำหรับดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำควรเพิ่มอัตราการใช้ให้มากขึ้น
การเตรียมดินสำหรับพืชไร่
พืชไร่เป็นพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น ข้าวโพด อ้อย สับปะรด และมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่แล้วดินที่เหมาะสมสำหรับพืชไร่ควรเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน ดังนั้นการเตรียมดินควรมีการไถดะในช่วงฤดูแล้งและตากดินไว้ 7-10 วัน เพื่อให้วัชพืชแห้งตาย ก่อนปลูกไถแปรโดยใช้ผาล 7 สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทให้ไถขวางความลาดเททั้งผาล 3 และ ผาล 7 บางพื้นที่ที่มีสภาพดินแน่นทึบ ดินมีชั้นดานที่เกิดจากการไถพรวน ควรใช้ไถเบรกดินดาน โดยไถลึกให้ถึงชั้นดาน จะช่วยให้น้ำสามารถซึมลงไปได้ดี ทำให้พืชไร่บางชนิด เช่น มันสำปะหลังหัวไม่เน่าเสียหาย หลังจากนั้นหว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ปัจจุบันพบว่า ดินส่วนใหญ่ของประเทศที่ใช้ปลูกพืชไร่มีความเป็นกรดเนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นเวลานานจึงควรหว่านปูนขาวในอัตรา 500-600 กก./ไร่ สำหรับดินที่เป็นกรดเล็กน้อย โดยใส่ทุกๆ 2 ปี จะช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินแก่พืช ขณะหว่านปูนขาวดินควรมีความชื้นและทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็สามารถยกร่อง หรือยกแปลงปลูกพืชได้
การเตรียมดินที่ดีที่สุดควรปลูกพืชปุ๋ยสดพวก ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม หรือปอเทือง แล้วไถกลบช่วงออกดอกจะช่วยเพิ่มอุดมสมบูรณ์ของดินรวมทั้งช่วยในด้านความสามารถในการอุ้มน้ำและการระบายน้ำและอากาศของดินให้ดีขึ้นถ้าปลูกพืชปุ๋ยสดได้ทุกปีก่อนปลูกพืชจะดีที่สุด แต่ถ้าไม่สามารถปลูกได้ก็อาจปลูกทุกๆ 2-3 ปี จะช่วยให้ดินไม่เสื่อมโทรมมากและพื้นที่ปลูกพืชสามารถให้ผลผลิตเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น
การเตรียมดินสำหรับพืชไร่จำพวกหัวควรมีการยกร่องเพื่อให้มีการลงหัวได้ดีระยะระหว่างร่องขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ปลูก เช่น มันสำปะหลัง อ้อย และสับปะรด ควรยกร่องกว้าง1 เมตร 1.20 เมตร และ 1 เมตร ตามลำดับ การปลูกพืชไร่ในช่วงต้นฤดูฝนควรยกร่องเพื่อไม่ให้มีน้ำแช่ขัง สำหรับอ้อยควรยกร่องปลูกเช่นเดียวกัน เพื่อใช้วางท่อนพันธุ์ในร่อง และกลบดินโคนต้นในช่วงทำรุ่นและใส่ปุ๋ย สำหรับพื้นที่ลุ่มการปลูกพืชไร่ควรทำร่องระบายน้ำออกจากพื้นที่และพื้นที่ดอนที่มีความลาดเทการเตรียมดินควรเว้นระยะเป็นแนวขวางความลาดเทสำหรับปลูกหญ้าแฝก 1แถวสลับกับการปลูกมันสำปะหลังประมาณ 30-40 แถว เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ด้านบนมายังพื้นที่ด้านล่าง
1.ความหมายและความสำคัญของการผลิตพืช
1.1 ความหมายของการผลิตพืช
การผลิตพืช หมายถึง การดำเนินงานปฏิบัติการปลูกพืชตามลำดับขั้นตอนที่ก่อให้เกิดผลผลิตตามต้องการ ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลและวางแผนปลูกพืช การเตรียมพันธุ์พืช การเตรียมดิน การปลูก การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาและการจัดการผลผลิต
1.2 ความสำคัญของการผลิตพืช
สิ่งมีชีวิตทั้งหลายโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์ต้องการพืชเป็นอาหารสำหรับบริโภคในชีวิตประจำวันเพื่อการเจริญเติบโตและดำรงชีวิต พืชถูกมนุษย์และสัตว์ใช้เป็นอาหารทุกวัน โดยไม่มีการปลูกขึ้นมาทดแทน นับวันจะหมดไปหรือสูญพันธุ์ไป ประกอบกับจำนวนประชากรมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ความสำคัญของพืชจึงมีมากขึ้น เพราะถ้าหากขาดแคลนจะเกิดความอดอยาก แย่งชิงอาหารกันบ้านเมืองเกิดจลาจลวุ่นวาย ดังนั้นคนเราจึงต้องหาแนวทางผลิตพืชให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป การผลิตพืชจึงมีความสำคัญดังนี้
ก่อให้เกิดปัจจัย 4 ของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย
ก่อให้เกิดงานเลี้ยงสัตว์ โดยให้พืชเป็นอาหารสำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ส่งผลให้คนเราได้เลี้ยวสัตว์สำหรับบริโภค จำหน่าย หรือเลี้ยงไว้ดูเล่นเป็นงานอดิเรก
ก่อให้เกิดงานอาชีพและงานต่อเนื่องเกี่ยวกับการปลูกพืช ทำให้ผู้ปลูกพืชหรือชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต สร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวและเศรษฐกิจของประเทศ
ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่นสวยงาม โดยเฉพาะระบบนิเวศที่ทำให้พืชและสัตว์ร่วมกัน สร้างความสมดุลทางธรรมชาติ เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล ป่าไม้ชุ่มชื้น รักษาสภาพดินไม่ให้เกิดการพังทลายหรือดินถล่ม
2.การศึกษาข้อมูลและการวางแผนผลิตพืช
2.1 การศึกษาข้อมูลผลิตพืช เป็นการเริ่มดำเนินงานแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพืชที่จะปลูก ทั้งนี้เพื่อจะได้เรียนรู้ให้ประชากรปลูกพืชได้ตามความต้องการและสนใจ ซึ่งมีแนวทางการศึกษาหลายด้านดังนี้
หนังสือ ตำรา เอกสาร วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่างๆ
ข่าวจากอินเตอร์เน็ต โดยศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั้งของราชการและเอกชน
แหล่งวิชาการเกษตรในท้องถิ่น
2.2 การวางแผนการผลิตพืช เป็นการกำหนดการปฏิบัติงานปลูกพืชพร้อมระยะเวลา และผู้รับผิดชอบไว้ล่วงหน้า เพื่อการปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และเรียบร้อย
การวางแผนการปฏิบัติงานประกอบด้วย
ชื่อพืชที่จะปลูก
จุดประสงค์
แผนการปฏิบัติงานระยะเวลา และผู้รับผิดชอบ
3.การเตรียมพันธุ์พืช
3.1 ลักษณะของเมล็ดที่ดี ต้องสมบูรณ์อวบอ้วน ไม่มีร่องรอยแมลงกัดกิน ไม่มีสิ่งเจือปนอยู่ในเมล็ด เช่นกรวด ทราย มีเปอร์เซ็นการงอกดี มีการรับรองอายุการงอก
3.2 ลักษณะของต้นกล้า มีใบจริง 3-4 ใบ ลำต้นอวบสมบูรณ์ ใบเขียวตามธรรมชาติ ไม่มีร่องรอยของศัตรูพืชเข้าทำลาย
4. การเตรียมดินปลูกพืช
พืชที่เราจะปลูกจะเจริญเติบโตดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเตรียมดิน ถ้าหากนักเรียนเตรียมดินดี คือ มีอาหารพืชอุดมสมบูรณ์เหมาะกับชนิดของพืชที่ปลูกจะทำให้พืชของเรางอกงาม แข็งแรงเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูง แต่ถ้าเราเตรียมดินไม่ถูกต้อง ขาดการใส่ปุ๋ยหรืออาหารพืชที่เหมาะสม พืชจะเจริญเติบโตช้า แคระแกร็น และให้ผลผลิตต่ำ
เครื่องมือการเกษตร อุปกรณ์การเกษตร เครื่องจักร
เครื่องมือการเกษตรเป็นเครื่องมือของเกษตรกรในการเพาะหรือขยายพันธุ์ ซึ่งผู้ใช้ควรได้ศึกษาถึงวิธีการใช้ การดูแลรักษา เพื่อให้เครื่องมือมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและควรรู้จักการป้องกัน อุบัติเหตุทั้งผู้ใช้และผู้ที่อยู่ใกล้เคียง การเลือกเครื่องมือที่ดีจะทำให้ได้รับผลประโยชน์หรือได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
ประเภทเครื่องมือเกษตร…..แบ่งตามลักษณะของการใช้งานดังนี้
UploadImage
1.เครื่องมือที่ใช้กับงานดิน…เครื่องมือประเภทนี้ใช้สำหรับการทำงานเกษตรที่เกี่ยวข้องกับดิน
2.เครื่องมือใช้ในการให้น้ำเครื่องประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการดูแลพืช
3.เครื่องมือตัดแต่งกิ่งและขยายพันธ์พืช
เครื่องมือเกษตรเกี่ยวกับดิน เครื่องมือเกษตรเกี่ยวกับพืช
เครื่องมือที่ใช้กับดินมี 6 ชนิด เครื่องมือที่ใช้กับพืชมี 5 ชนิด
1.[ช้อนปลูก] 1.บัวรดน้ำ
2.[ส้อมพรวน] 2.ถังน้ำ 3.[คราด] 3.กรรไกรตัดหญ้า 4.[เสียม] 4.มีดดายหญ้า 5.[จอบ 5.กรรไกรตอนกิ่ง 6.[พลั่ว]เครื่องมือเกี่ยวกับดิน
จอบ ใช้สำหรับ ขุดดินถางหญ้าขุดแปลง หรือใช้สำหลับขุดหลุมใหญ่ๆ
ส้อมพรวน ใช้สำหลับพรวนดินรอบๆต้นพืช
ความปลอดภัยในการใช้ ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าจอบเข้าด้ามแน่นหนาหรือไม่ขณะที่ ใช้จอบต้องระวังเพื่อนที่อยู่ข้างเคียงและเท้าของผู้ใช้ด้วย
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
หลังจากใช้แล้วล้างทำความสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ส้อมพรวน
ใช้สำหรับพรวนดินรอบ ๆ ต้นพืช ไม่ควรใช้พรวนในดิน แข็ง เพราะจะหักและงอง่าย
ความปลอดภัยในการใช้
ไม่ควรเล่นกันในขณะทำงาน เพราะ ส้อมพรวนมีความแหลมคม อาจจะได้รับอันตรายจากการใช้ได้ ถ้าผู้ใช้ขาด ความระมัดระวัง
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
คราด
ใช้สำหรับย่อยดินและเก็บเศษหญ้า แต่งแปลงปลูก การ จับคราดใช้มือทั้งสองจับด้ามคราดให้ห่างกันพอสมควร แล้วถึงเข้าหาตัว
ความปลอดภัยในการใช้
ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าคราดอยู่ในสภาพที่ ใช้ได้หรือไม่ ขณะใช้ควรระมัดระวังไม่ให้ด้ามคราดไปถูกคนใกล้เคียง
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
หลังจากใช้แล้วล้างทำความสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
เสียม
ใช้สำหรับขุดหลุมปลูกต้นไม้ ส่วนมากนิยมใช้ขุดหลุมขนาด เล็กลึก หรือใช้ในบริเวณแคบไม่เหมาะกับการใช้จอบ เวลาขุด ใช้มือทั้งสองข้างจับด้ามเสียมให้มือยู่ห่างกันพอสมควร แล้วกด ปลายเสียมลงไปในดิน
ความปลอดภัยในการใช้
ก่อนใช้ควรตรวจสภาพของเสียมเสียก่อน ขณะปฏิบัติงานให้ ระมัดระวังไม่ให้ด้ามเสียมไปโดนคนข้างเคียงที่ยืนอยู่ได้
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
พลั่ว
ใช้สำหรับตักวัสดุที่ใช้ในการเกษตร เช่น ดิน ปุ๋ย
ความปลอดภัยในการใช้
ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าชำรุดหรือไม่ เพื่อจะได้ซ่อมให้เรียบ ร้อย ในขณะที่ใช้ตักดิน ควรระวังไม่ให้ถูกเท้าและคนข้างเคียง
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
หลังจากการใช้ทุกครั้ง ล้างน้ำให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่
เครื่องมือเกี่ยวกับพืช
บัวรดน้ำ
ใช้สำหรับรดน้ำพืช น้ำที่ออกจากฝักบัวจะเป็นฝอยกระจายทั่วต้นพืช ทำให้พืชได้รับน้ำอย่างทั่วถึง และส่วนต่าง ๆ ของพืชไม่หักง่าย การใช้ บัว รดน้ำ ถ้าไม่ระมัดระวังจะเสียหายง่ายที่ส่วนคอของ ฝักบัวจึงควรจับที่หูหิ้วหรือที่มือจับเท่านั้น
ความปลอดภัยในการใช้
ก่อนใช้ควรตรวจดูสภาพของบัวรดน้ำตรงที่มือจับหรือหูหิ้วเสียก่อน ถ้าชำรุดควรซ่อมให้เรียบร้อยก่อนนำไปใช้ และขณะที่ใช้ต้องจับถือให้แน่นเพื่อไม่ให้ตกลงเท้า
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
ภายหลังการใช้แล้ว ควรล้างทำความสะอาดถังตัวถังและฝักบัว อย่าให้เศษหญ้าหรืออย่างอื่นอุดตัน แล้วคว่ำเก็บเข้าที่
กรรไกรตัดหญ้า
ใช้สำหรับตัดหญ้าหรือตกแต่งรั้วต้นไม้หรือตัดหญ้าในสนามที่มีมุมแคบ
ความปลอดภัยในการใช้
ขณะที่ใช้ควรระมัดระวังคนที่อยู่ข้างเคียง ไม่ควรใช้มือจับ ใกล้โคนกรรไกรมากเกินไป มือจะพลาดไปถูกคมของกรรไกรได้ ขณะใช้ควรระวังไม่ให้ปลายกรรไกร ไปถูกผู้อื่นด้วย
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาดเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมัน กันสนิม หยอดน้ำมัน เก็บเข้าที่ โดยการแขวน
มีดดายหญ้า
ใช้สำหรับดายหญ้าหรือถางหญ้าที่ขึ้นสูง ซึ่งไม่สามารถที่ จะใช้กรรไกรตัดหญ้าได้
ความปลอดภัยในการใช้
ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าด้ามแน่นดีหรือไม่ ขณะใช้มีดดายหญ้าต้องระมัดระวังให้มาก เพราะมีดดายหญ้ามีความคม อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้ที่อยู่ข้างเคียง ควรคำนึงถึงรัศมีของมีด ไม่ควรใช้มีดดายหญ้าแกว่งเล่นหยอกล้อกัน
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
เมื่อใช้มีดดายหญ้าแล้ว ควรล้างทำความสะอาดโดยใช้ผ้า เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิม ด้วยจะช่วยรักษาคมมีดให้อยู่ได้ นาน แล้วเก็บเข้าที่
กรรไกรตัดกิ่ง
ใช้สำหรับตัดแต่งกิ่งไม้ขนาดเล็ก เช่น กิ่งที่แห้งไม่ สมบูรณ์ เป็นโรคและแมลงกัดกิน หรือใช้ตัดแต่งพืชที่มี ใบและกิ่งหนา เกินไป ก่อนใช้ควรปลดที่รัดสปริงออก ใช้มือที่ผู้ใช้ถนัดจับโดยใช้อุ้งมือบริเวณนิ้วหัวแม่มือบังคับกรรไกร ตอนบนในการตัดกิ่ง
ความปลอดภัยในการใช้
ขณะตัดแต่งกิ่งควรใช้อย่างระมัดระวังโดยไม่ให้หลุดมือหรือแกว่งเล่น
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
ภายหลังการใช้ควรล้าง เช็ดทำความสะอาด ทาน้ำมัน กันสนิม และหยอดน้ำมันตรงสปริงขากรรไกร แล้วเก็บเข้าที่ โดยการแขวน- ที่มา:http://jiraporn-unit4.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น